ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ประเพณีวัฒนธรรม



การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน






ดือนรอมฎอน ซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด

        ทุกปีในเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม เป็นช่วงเวลาที่มุสลิมทั่วโลกประมาณ 1,500 ล้านคนทั้งชายหญิงที่พ้นวัยแห่งความเป็นเด็กแล้วจะต้องปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาที่สำคัญประการหนึ่งนั่นคือ การถือศีลอด (ภาษาอาหรับเรียกว่า "อัศเซาม์" หรือ "ศิยาม") ตามหลักการอิสลาม การเจตนาหลีกเลี่ยงหน้าที่นี้ถือเป็นบาป

 

การถือศีลอดคืออะไร

    การถือศีลอดตามความหมายทางศาสนาของอิสลาม คือการงดเว้นจากการกิน การดื่ม การเสพ และการมีความสัมพันธ์ทางเพศ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกตลอดทั้งเดือนรอมฎอนของทุกปีซึ่งอาจจะมีระยะเวลา 29 หรือ 30 วัน โดยมีเจตนาว่าทำเพื่ออัลลอฮฺ


ความสำคัญของการถือศีลอด

     ในทุกๆ ปี ศาสนิกชนมุสลิมจะปฏิบัติภารกิจถือศีลอดเดือนรอมฎอน เป็นการทดสอบความศรัทธาอันแรงกล้าต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าที่ประทานพระบัญญัติแก่มวลมนุษย์ เพื่อฝึกฝนให้มวลมนุษย์รู้จักความอดกลั้นอดทน มีจิตใจหนักแน่น และไม่ท้อถอยอย่างง่ายดายต่อความยากลำบาก เมื่อเข้าเดือนรอมฏอนชาวมุสลิมจะเริ่มถือศีลอดตลอดช่วงเดือนนี้เป็นเวลา 29 – 30 วัน เป็นการปฏิบัติตนตามบทบัญญัติข้อที่สี่ในหลักปฏิบัติศาสนบัญญัติ 5 ประการ คือ

1). การกล่าวปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์ และนบีมูฮำหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์

2). ดำรงละหมาด

3). การบริจาคทาน (ซะกาต)

4). ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

5). ประกอบพิธีฮัจย์ที่นครมักกะฮ์

        การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนนั้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ถือศีลอดได้สัมผัสและรับรู้ถึงความทุกข์ยากลำบาก ได้เรียนรู้ถึงอุปสรรรคต่างๆ ของการดำเนินชีวิต และเมื่อได้สัมผัส ได้รับรู้ถึงความทุกข์ยากแล้ว การถือศีลอดจึงส่งผลสืบเนื่องให้ผู้ถือศีลนั้นรู้จักอดกลั้นอดทนต่อความทุกข์ยากต่างๆ ด้วยความพากเพียรและสติปัญญา กล่าวคือ ฝึกฝนจิตใจของชาวมุสลิมทุกคนให้เป็นผู้มีสติ หนักแน่น มีจิตใจอดทนอดกลั้นทั้งต่อความหิวโหย ต่อความโกรธ ความปรารถนาแห่งอารมณ์ และสิ่งยั่วยวนนานับประการ ซึ่งผลที่ได้จากความเพียร คือ การพัฒนาตนเองไปในทางที่ดี มีความใฝ่สูงด้านจิตใจอยู่ตลอดเวลา จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน และพร้อมที่จะเผชิญและฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆ นานา มุ่งสู่ความสำเร็จ การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนของชาวมุสลิมจึงมีคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิต ต่อหน้าที่การงาน และกิจวัตรประจำวันของชาวมุสลิม นอกเหนือไปจากความยำเกรง และศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะได้ใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้า

ข้อควรปฏิบัติในการถือศีลอดที่ถูกต้อง

1.  รับประทานอาหารซุโฮร์ให้ใกล้หมดเวลา และรีบแก้ศีลอดเมื่อเข้าเวลา

2. ไม่พูดนินทา ไม่คิดร้าย ทำใจให้สงบ อ่านอัลกุรอ่าน

3. เคี้ยวอาหารช้าๆ ห้าสิบครั้งต่อคำ ควรทานอาหารไม่อิ่มแน่นมาก

4. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ หลังรับประทานอาหาร

5. รับประทานอาหารเหมือนปกติ ไม่ควรเพิ่มอาหารมาก

6. เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

7. ไปละหมาดตะรอเวียะฮ์ (การละหมาดในเดือนรอมฏอน) ทุกๆ วัน อย่างช้าๆ ไม่รีบ

8. แบ่งปันอาหารให้ผู้ที่ถือศีลอด

9. พยายามเลิกสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น บุหรี่, ชา, กาแฟ ฯลฯ

10. ควรตรวจร่างกายก่อนเข้าเดือนรอมฎอน และหลังจากสิ้นเดือนรอมฎอน

ข้อห้ามขณะถือศีลอด

1. ห้ามรับประทานหรือดื่ม รวมทั้งการสูบบุหรี่ด้วยโดยเจตนา

2. ห้ามร่วมประเวณี หรือทำให้อสุจิออกมาโดยเจตนา

3. ห้ามทำให้อาเจียนโดยเจตนา

4. ห้ามเอาสิ่งใดเข้าไปจนลึกเกินบริเวณภายนอกในอวัยวะที่เป็นรู เช่น ปาก จมูก โดยเจตนา

 

    ข้อห้ามเหล่านี้ ห้ามเฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น ส่วนน้ำลายในปากกลืนได้ไม่ห้าม





แหล่งที่มาของข้อมูล : https://youtu.be/lvodjWcgdng



วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 16

                                                                     วันที่ 7 ตุลาคม 2564

                                                           ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                   (Online Learning Management System)


     สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุมทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet  โดยในครั้งนี้พูดคุยในรูปแบบของเลมรายงานทั้งหมด เก็บรายละเอียดของข้อมูลทั้งหมด ดังนี้  

               1. ปกนอก 

               2. บทคัดย่อ Abstract กิตติกร

               3. สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ

               4. บทที่ 1 บทนำ

               5. บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

               6.  บทที่ 3 วิธีการศึกษา

               7. บทที่ 4 ผลการศึกษา

               8. บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

               9. บรรณานุกรม

             10. ภาคผนวก

             11. แผนการจัดการเรียนรู้

       ทำการเพิ่มเนื้อหาของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ https://smp.yru.ac.th/  ให้มีความสมบูรณ์ ตรวจสอบความถูกต้องและความเรียบร้อยของระบบ

โดยในครั้งนี้มีการจัดทำรูปเล่มรายงาน ซึ่งในครั้งนี้จะเรียบเรียงให้ความสมบูรณ์มากขึ้น เพื่อเกิดการทำงานรวดเร็วและอย่างระเบียบเรียบร้อย อีกยังทั้งเกิดการทำงานกันเป็นทีม และสรุปประเด็นสำคัญลงในเว็บบล็อกขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานครั้งนี้



ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 15

                                                                วันที่ 30 กันยายน 2564

                                                         ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                (Online Learning Management System)



        ในวันที่ 30 กันยายน 2564 ทางฝ่ายฝึกได้ขออนุญาติอาจารย์รายวิชาแต่ละท่านให้งดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษานั้นได้สังเกตการสอนของโรงเรียน

    อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้ยกคลาสในสัปดาห์นี้พร้อมให้แต่กลุ่มของโครงงานทำงานกลุ่มให้คืบหน้าในครั้งนี้ทางกลุ่มเราได้มีนัดประชุมการทำงานโดยใช้ Google meet ในการประชุม เพื่อเพิ่มเนื้อหาของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ https://smp.yru.ac.th/  โดยในครั้งนี้มีการจัดทำแบบทดสอบแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest)  และแบบทดสอบหลังเรียน (Pretest)  ให้ความสมบูรณ์มากขึ้น และสุดท้ายได้มีการพูดคุยบทที่ 5 สรุป 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 14

                                                              วันที่ 23 กันยายน 2564

                                                       ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                (Online Learning Management System)

            อาจารย์ประกาศงดคลาสเพื่อให้นักศึกษาแต่กลุ่มของโครงงานทำรายงานในบทที่ 4 และบทที่ 5 พร้อมพัฒนาระบบ SMP ทางกลุ่มของเราก็ได้มีการประชุมและแบ่งหัวข้อหน้าที่กันทำ 

ซึ่งสรุปจากการประชุมของกลุ่มพวกเราในสัปดาห์นี้ ซึ่งสมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม และทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มเนื้อหาข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ https://smp.yru.ac.th/ และแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคน ได้มีการเพิ่มข้อมูลเพิมเติมลงระบบ

          หลังจากสมาชิกในกลุ่มได้จัดทำระบบอีเลิร์นนิ่ง ในระบบ https://smp.yru.ac.th/  เสร็จสมบูรณ์ ก็จัดทำในรูปเล่มเอกสาร รายงานการศึกษาโครงงาน 

        1.ในส่วนของเล่มรายงาน บทที่ 4 และ บทที่ 5 ซึ่งมีการแบ่งหัวข้อว่าใครรับผิดชอบในหัวข้อไหน โดยมีหัวข้อดังนี้

        1.1 บทที่ 4

        1.2 บทที่ 5 มีหัวข้อย่อย ดังนี้

            - เกริ่นนำ,ขั้นตอนการศึกษา

            - ความสำคัญ,สรุปผลการศึกษา

            - แนวทาง,ข้อเสนอแนะ







          2. ในส่วนระบบ SMP ช่วยกันหาและแลกเปลี่ยนความรู้ว่าในบทเรียนนั้นจะมีหัวข้ออะไรบ้าง และจัดเรียงออกแบบระบบอย่างไร 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13

                                                                 วันที่ 16 กันยายน 2564

                                                           ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                  (Online Learning Management System)

     

    กิจกรรมการเรียนการสอนมี ดังนี้

      1. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Google Meet เวลา 09.30 น.

      2. ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอ โครงงานบทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องและ บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา

     ซึ่งมีทั้งหมด 7 กลุ่ม นำเสนอตามลำดับ ดังนี้



         โดยแต่ละกลุ่มมีหัวข้อนำเสนอ ดังต่อไปนี้      

    กลุ่มที่ 7 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

  กลุ่มที่ 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6

 กลุ่มที่ 5  เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

  กลุ่มที่ 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

 กลุ่มที่ 1  เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 

 กลุ่มที่ 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

 กลุ่มที่ 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12

                                                                    วันที่ 9 กันยายน 2564

                                                           ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                   (Online Learning Management System)

        วันนี้อาจารย์ศิริชัย ไม่จัดการเรียนการสอนเนื่องจาให้นักศึกษา จัดทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมายและเตรียมนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

         ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุมนัดรวมกันทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนของเล่มรายงานและในส่วนต่าง ๆ ในระบบ SMP.YRU  โดยมีการแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคนไปหาข้อมูลในส่วนของตัวเอง และเพิ่มข้อมูลลงระบบได้อย่างอิสระ 






      และได้มีการจัดทำกูเกิลสไลด์เพื่อจะนำเสนอในส่วนของบทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และบทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา 



ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

                                                                      วันที่ 2 กันยายน 2564

                                                             ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                     (Online Learning Management System)

            กิจกรรมในวันนี้ 

 สมาชิกในกลุ่มได้ทำการประชุมทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อทำโครงงานต่อในส่วนบทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และบทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา ให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป


                                                    บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

      หัวหน้ากลุ่มทำการแบ่งหัวข้อเพื่อให้แต่ละคนหาเนื้อหาในส่วนของตัวเองที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า มีดังต่อไปนี้

1. เอกสารเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์ 

     1.1 ความหมาย (นูรีดา)

     1.2 ระบบอีเลิร์นนิ่ง (นูรโซเฟีย)

     1.3 ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (นายีฮะห์)

     1.4 เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (อัสมานี)


                                                           บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา 

      มีขั้นตอนการศึกษาและการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งตามขั้นตอนของ ADDIE หัวหน้ากลุ่มได้มอบหมายงานดังนี้

            1. การวิเคราะห์ (Analysis) (นูรโซเฟีย)

            2. การออกแบบ (Design) (นูรีดา)

            3. การพัฒนา (Development) (นายีฮะห์)

            4. การนำไปใช้ (Implementation) (อัสมานี)

            5. การประเมินผล (Evaluation) (ทำร่วมกัน)



        และมีการแบ่งหน้าเพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบ SMP.YRU