ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผลการเรียนรู้ครั้งที่16

ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 16
  วิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา


ประกาศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
เรื่องมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-๑๙) ฉบับที่ ๓
เพื่อให้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-๑๙) เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจึงประกาศมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ฉบับที่ ๓ ดังนี้
๑.ให้ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป
๒.ให้ดำเนินการสอบปลายภาคตามตารางเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดโดยใช้ระบบออนไลน์
ทั้งนี้ให้อาจารย์ผู้สอบเป็นผู้ดำเนินการและกำกับการสอบด้วยตนเองโดยให้นักศึกษาสอบตามตารางที่กำหนด
๓.การลงชื่อปฏิบัติราชการของบุคลากรให้ใช้ระบบ Scan online เริ่มตั้งวันที่ ๑๗ มีนาคมถึงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๓ ในเวลาทำการปกติ
๔.ให้งดหรือเลื่อนกิจกรรมที่มีการรวมคนตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไปทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยตั้งวันที่ ๑๗ มีนาคม ถึงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๓
๕.ให้หัวหน้าส่วนราชการกำกับการปฏิบัติงานของบุคลากรที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยเคร่งครัดเพื่อไม่เกิดความเสียหายต่อทางราชการ
๖.กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการให้หัวหน้าส่วนราชการเสนอขอความเห็นชอบในการดำเนินการไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป
๗.กรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามประกาศนี้ให้อธิการบดีมีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดและถือเป็นที่สุด

จึงประกาศมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด

วันที่ 19 มีนาคม 2563
วิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา  
การเรียนออนไลน์
1) ทุกคนทำแบบทดสอบ Pretest และ Posttest ให้ได้คะแนนมากที่สุด และให้ครบทุกบท
2) ปรับแต่ง Weblog ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด 
3) เรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรม PHP เชื่อมต่อฐานข้อมูลhttps://elearning.yru.ac.th/mod/folder/view.php?id=8857  เพื่อนำไปเขียนโปรแกรม เพิ่ม ลบ แก้ไข รายงานข้อมูล ในระบบที่กลุ่มพัฒนา
นอกจากนั้น ยังสามารถศึกษาทักษะการเขียนโปรแกรม PHP ได้จากอินเทอร์เน็ต หรือ Youtube Clip 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่15

ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 15
  วิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา

           
            อาจารย์ให้ทำโครงงานที่ได้รับมอบหมาย โดยที่อาจารย์ดูความคืบหน้า โครงงาน 
ได้แก่ บทที่ 1 , บทที่ 2 , บทที่ พร้อมนำสไลด์นำเสนอ แขวนที่ google plus ในรายวิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา (มรย.) และในวันนี้ได้ นำเสนอโครงงานทุกกลุ่ม โดยที่อาจารย์และเพื่อนในห้องเป็นคนประเมิน  โดยในวันนี้ได้นำเสนอทุกกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ ระบบบุคลากร




กลุ่มที่  2 ระบบการทะเบียนนักเรียน



กลุ่มที่ ระบบวินัย



กลุ่มที่ ระบบกิจกรรมนักเรียน




กลุ่มที่ การจัดการหลักสูตร



กลุ่มที่ ระบบห้องพยาบาล



      ซึ่งกลุ่มเรา ระบบกิจกรรมนักเรียน อาจารย์ได้ประเมิน ดังนี้
  1) สมาชิกในกลุ่ม ใช้ภาษาไทยได้ดี
  2) ให้ปรับปรุง E-R Diagram ลดความซ้ำซ้อน ควรประกอบด้วย
  1-ตารางประวัติบุคลากร
  2-ที่อยู่ปัจจุบัน           
                       3-วุฒิการศึกษา   
                       4-ประเภทบุคลากร                                                                                             
            3) ลดการอ่านสไลด์จะดีมาก

ผลการเรียนรู้ครั้งที่14

ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 14
วิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา

เนื่องจากวันที่ 5 มีนาคม 2563 อาจารย์ติดราชการด่วน  ซึ่งอาจารย์ได้มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มจองห้องติว ที่ห้องสมุด บันทึกใน Blogger ของแต่ละบุคคล มีความคืบหน้า และได้เรียนรู้อะไร โดยให้ทำโครงงานบท 1-3
บทที่ 1  ที่มาและความสำคัญ
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 
บทที่ 3  วิธีการดำเนินการ
 สิ่งที่ได้รับในวันนี้เป็นสิ่งที่สามารถนำไปเตรียมความพร้อมต่อการสร้างระบบเบื้องต้นเเละยังสามารถนำข้อคิด  การวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางระบบของกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย สร้างความรับผิดชอบในที่ได้รับมอบหมาย และพัฒนาระบบด้วยตนเอง รวมทั้งประยุกต์ ความรู้  ทักษะ  และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละประเภทนั้น ๆ เเละดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าดิฉันจะได้รับความรู้ ทักษะ เเละประสบการณ์ที่ดีจากรายวิชานี้อย่างเเน่นอน

ผลการเรียนรู้ครั้งที่13

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา


               วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563
อาจารย์ได้อธิบาย Web Application กับ web service   มีความแตกต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างระหว่าง Web Application กับ Web Services
          ต่างกัน อันเนื่องจากจุดกำเนิด และ จุดประสงค์ของทั้งสองอย่างนั้น  Web Services นั้นเกิดมาจากการที่ Web Application ถูกพัฒนาได้จากหลาย ภาษา เช่น asp jsp php perl .... ทำให้การที่จะนำมารวมเพื่อร่วมทำงานด้วยกันนั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก (เหมือนคุยกันคนละภาษา) Web Services จึงเหมือนกับภาษาสากล ที่ทำให้แต่ละ Web Application ทำงานร่วมกันได้ โดยผ่าน SOAP ที่มี รูปแบบเป็น XML ซึ่งเป็นเหมือนภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Web Services นั้น มีหลายตัว อาทิ เช่น AXIS วิธีทำนั้นก็ไม่ยาก ยิ่งถ้าใช้ IDE จะง่ายมากแค่ คลิก ๆ  ไม่กี่ที่ก็เสร็จแล้ว ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่การสร้าง แต่กลับอยู่ที่การนำไปใช้มากกว่า

          การทำงานของ Web Application นั้นโปรแกรมส่วนหนึ่งจะวางตัวอยู่บน Rendering Engine  ซึ่งตัว Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือนำเอาชุดคำสั่งหรือรูปแบบโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในการแสดงผล  นำมาแสดงผลบนพื้นที่ส่วนหนึ่งในจอภาพ โปรแกรมส่วนที่วางตัวอยู่บน Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งที่แสดงผล   จัดการตรวจสอบข้อมูลที่รับเข้ามาเบื้องต้นและการประมวลบางส่วนแต่ส่วนการทำงานหลักๆ จะวางตัวอยู่บน Services ในลักษณะ Web Application แบบเบื้องต้น
            ฝั่ง Services จะประกอบไปด้วย Web Services ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับไคลเอนต์ตามโปรโตคอล HTTP/HTTPS โดยนอกจาก Web Services จะทำหน้าที่ส่งไฟล์ที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงผลตามมาตรฐาน HTTP ตามปกติทั่วไปแล้ว   เว็บเซิร์ฟเวอร์จะมีส่วนประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นตัวแปลภาษา เช่น Script Engine ของภาษา PHP  หรืออาจจะมีการติดตั้ง .NET Framework ซึ่งมีส่วนแปลภาษา CLR (Common Language Runtime) ที่ใช้แปลภาษา intermediate จากโค้ดที่เขียนด้วย VB.NET หรือ C#.NET  หรืออาจจะเป็น J2EE  ที่มีส่วนแปลไบต์โค้ดของคลาสที่ได้จากโปรแกรมภาษาจาวา เป็นต้น
       จากนั้น อาจารย์ได้ให้ นักศึกษาทำ PHP Tutorial ดังต่อไปนี้ และ อธิบายถึงการทำงานโครงงาน ตามแบบฟอร์มที่ได้กำหนด  ในแต่ละบทที่ได้มอบหมายในครั้ง ซึ่งได้แก่ บทที่ บทที่ และบทที่ 3



ผลการเรียนรู้ครั้งที่12

ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 12
วิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา



          ในสัปดาห์นี้ทางอาจารย์ติดรับเสด็จ และได้มอบมายให้นักศึกษา ทำงานที่กลุ่มตัวเองได้รับมอบหมาย ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นัดสมาชิกภายในกลุ่มมาทำงานของใบโครงการ 1-3 
      บทที่ 1 บทนำ
      บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                 บทที่ 3 วิธีการศึกษา 
ตามแบบฟอร์มในโครงงานที่มอบหมายและได้ทำพอยด์เตรียมนำเสนอ E-R DIAGRAM และ พจนานุกรมข้อมูลในสัปดาห์ถัดไป

ผลการเรียนรู้ครั้งที่11

ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 11
วิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา



วันวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563
อาจารย์ได้ให้นักศึกษา
1. ทำแบบฝึกหัดหลังเรียน Posttest  ในบทที่ 2 
2. ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน Posttest  ในบทที่ 3 
3. ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน Posttest  ในบทที่ 4 

จากกนั้น ให้นักศึกษาติดตั้งโปรแกรม  xampp  โปรแกรมจำลอง web server ทำให้เราสามารถทดสอบเว็บไซต์ได้โดยที่ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และไม่มีค่าใช่จ่ายใด ๆ
PHP tutorial ใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML   และได้เรียนรู้ภาษา PHP ใช้อย่างไร เเละได้สอนเขียนโปรเเกรมเบื่องต้นเพื่อให้นักศึกษาไปปรับใช้กับงานที่มอบหมาย

สัปดาห์หน้า วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563  ในเรื่อง   การออกแบบข้อมูลด้วย E-R Diagram  ว่าในระบบที่เราได้รับมอบหมาย ว่ามีเอ็นทิตี้ แอททริบิวส์ และความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้เป็นอย่างไรและ DataDictionary (พจนานุกรมข้อมูล) ที่แสดงรายละเอียดตารางข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูล (Database) 

          สุดท้ายนี้ สิ่งที่ได้รับในวันนี้เป็นสิ่งที่สามารถนำไปเตรียมความพร้อมต่อการสร้างระบบบริหารบุคลากรเบื้องต้น เเละดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าดิฉันจะได้รับความรู้ ทักษะ เเละประสบการณ์ที่ดีจากรายวิชานี้อย่างเเน่นอน

ผลการเรียนรู้ครั้งที่10

 ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 10
วิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา




   ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์  2563

   อาจารย์ได้อธิบาย ในการทำโครงงานในระบบต่าง ๆ ที่มอบหมายงานในสัปดาห์ก่อน และอธิบายการพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information  System Development) วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) เป็นว่าอย่างไร มีแบบไหนบ้าง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information  System Development)
        คือ เป็นการสร้างระบบใหม่หรือปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้ว  ให้สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทางธุรกิจได้ตามความต้องการ
วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC)
        คือ กระบวนการทางความคิด เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ  ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถดำเนินการได้อย่างมีแนวทางและเป็นขั้นตอน วงจรการพัฒนาระบบ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน  ได้แก่
1. ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project  Identification)
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project  Initiating and Planning)
3. วิเคราะห์ระบบ (System  Analysis)
4. การออกแบบเชิงตรรก (Logic  Design)
5. การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical  Design)
6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System  Implementation)
7. การซ่อมบำรุงระบบ (System  Maintenance)
        

ในสัปดาห์นี้ นำเสนอในแต่ละกลุ่มต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีความแตกต่างกันไปในต่างด้าน ที่เลือกมานำเสนอ

กลุ่มที่ 4 จำนวนสถิติการศึกษาในระบบและนอกระบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีพ.ศ. 2561 (สามจังหวัดชายแดนใต้)      

1.เพื่อศึกษาอัตราส่วนการศึกษาในระบบและนอกระบบว่ามีนักเรียนมากน้อยเพียงใดและศึกษา การเรียนการสอนในระบบและนอกระบบมีความแตกต่างอย่างไร
การศึกษาในระบบและนอกระบบ
การศึกษาในระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบ แบบแผนชัดเจนมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักสูตรวิธีการจัดการการเรียนการสอนและวัดผลที่แน่นอน
    การศึกษานอกระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีความยึดหยุ่นและหลากหลายรูปแบบที่มุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์





กลุ่มที่ 5 การสอบ วิชาสามัญ
          1. เพื่อต้องการทราบจำนวนนักเรียนที่สนใจในการสอบ วิชาสามัญ ในแต่ละปี
          2. เพื่อศึกษาสถิติคะแนนสอบของ วิชาสามัญ ในแต่ละปี



พบว่าการสอบ วิชาสามัญก็มีความสำคัญอย่างมากสำหรับนักเรียนที่จะก้าวไปสู่ใระดับอุดมศึกษา สังเกตได้จากผู้ที่เข้าสมัครสอบที่มีจำนวนมาก เพราะว่าการสอบ วิชาสามัญจะเป็นการวัดความรู้ขั้นพื้นฐานของนักเรียนที่จบมาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และการสอบเข้ามหาวิทยาลัยบางสาขาวิชาก็ต้องการผลคะแนนสอบ

กลุ่มที่ 6 ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ปีการศึกษา 2557 – 2561

1. เพื่อรู้ผลการสอบ O-NET ในแต่ละปีว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานมากน้อยเพียงใด.
2. เพื่อได้รู้การวัดคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษาของแต่ละโรงเรียนทั่วประเทศ.
3. เพื่อได้รู้ว่าคะแนนการทดสอบในแต่ละปีมีการพัฒนาขึ้นหรือน้อยลง.



ผลการเรียนรู้ครั้งที่09

ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 09
วิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา


ในวันที่  30 มกราคม 263
เนื่องจากพรุ่งนี้ อาจารย์ติดภาระกิจประชุมการติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ให้แต่ละกลุ่มที่เหลือเตรียมตัวนำเสนอในครั้งต่อไป ซึ่งกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอ มีดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 2 เรื่อง จำนวนสถิตินักเรียนระดับ ปวช.ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเขตพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้
กลุ่มที่ 4 จำนวนสถิติการศึกษาในระบบและนอกระบบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ในปีพ.ศ. 2561 (สามจังหวัดชายแดนใต้)
กลุ่มที่ 5  9 วิชาสามัญ
กลุ่มที่ 6  ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ปีการศึกษา 2557 - 2561
โดยจัดทำโครงงานระบบสารสนเทศในสถานศึกษา การออกแบบฐานข้อมูลจากระบบงานที่ได้เลือกไว้ และจากข้อมูลที่ไปศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนตาเบียร์ตุลวาตันมูลนิธิ ตำบลบันนังสาเรง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ในวันที่ 23  มกราคม 2563  ที่ผ่านมา...
     การออกแบบฐานข้อมูล ได้แก่ ได้ตารางข้อมูลอะไรบ้าง ในแต่ละตารางมีฟิลด์ (Attribute)  ระบบย่อยมีทั้งหมด 6 ระบบ ตามที่แบ่ง การออกแบบฐานข้อมูลให้ทุกกลุ่มทำร่วมกัน ตารางที่ควรมีและเป็นตารางหลัก ได้แก่ ประวัตินักเรียน ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลอาคาร เป็นต้น

ผลการเรียนรู้ครั้งที่08

ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 08
วิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา



ในวันที่ 23  มกราคม 2563
ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการ การพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาห้องพิเศษเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์


กิจกรรมลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการ
การพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงเรียน 
ณ โรงเรียนตาเบียร์ตุลวาตันมูลนิธิ ต.บันนังสาเรง อ.เมือง จ.ยะลา
----------------------------------------------------------------------------------------------
รหัสนักศึกษา 406109029     ชื่อ-นามสกุล   นางสาวพูซีย๊ะ โซะบารู
ระบบสารสนเทศสำหรับโรงเรียน ระบบย่อย (Module) ที่รับผิดชอบพัฒนา คือ  ระบบบริหารบุคลากร

ประเด็นการเก็บรวมบรวมข้อมูล
1.      ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน (จำนวนนักเรียน ครู ผู้บริหาร โครงสร้างการบริหาร หรืออื่น ๆ
1.1 จำนวนครู / บุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน  150 คน โดยแบ่งเป็น ชั้นอนุบาล  ชั้นประถม และชั้นมัธยม
1.2 จำนวนนักเรียนทั้งหมด  1600 คน  โดยรวมทั้งหมด ชั้นอนุบาล ชั้นประถม และชั้นมัธยม
2.      ตัวอย่างระบบสารสนเทศ หรือสภาพปัจจุบันในการใช้ระบบสารสนเทศของโรงเรียน
ระบบสารสนเทศของโรงเรียน  ได้แก่
          ระบบตรวจสอบผลการเรียน  ซึ่งได้ใช้ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ทำให้มีรวดเร็วในการทำงาน และมีความทันสมัยมากขึ้น  โดยไม่ต้องปริ้นผลการเรียนติดที่บอร์ด สามารถดูผลการเรียนที่ไหน แล้วเวลาไหนก็ได้
ระบบ RM  (ระบบงานทะเบียนวัดผล) ซึ่งจะมี ข้อมูลพื้นฐาน หลักสูตร แผนการเรียน บันทึกผลการเรียน เอกกสารหลักสูตร
ระบบ DM  (ระบบบริหารงานโรงเรียน / ธุรการ)  สถานศึกษา  นักเรียน
          ระบบช่วยเหลือนักเรียน
          ระบบรับสมัครนักเรียนใหม่ 
3.      ปัญหา และอุปสรรคของการใช้ระบบสารสนเทศในโรงเรียน
ทางโรงเรียน  ปัญหา และอุปสรรคที่สำคัญ คือ เรื่องฮาร์แวร์ต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถจัดการเรียนได้เต็มที ๆ ทำให้นักเรียนขาดพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักเรียนมีจำนวนมากของแต่ละห้อง เป็นจัดการเรียนการสอน 2 ระบบ
1. ระบบสมามัญ  ซึ่งระบบสามัญจะไม่มีปัญหาในด้านระบบสารสนเทศ สามารถปรับตัว ในการพัฒนาโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น
2. ระบบศาสนา จะมีปัญหาในด้านระบบสารสนเทศ ไม่สามารถปรับตัว เกิดความยุ่งยากในการใช้ระบบสารสนเทศ และผู้สอนศาสนายังไม่เปิดใจ

4.      ระบบสารสนเทศหรือฐานข้อมูลที่โรงเรียนต้องการพัฒนา และต้องการนำมาใช้
ทางโรงเรียนเสนอผู้บริหาร ในการต้องการติดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสารสนเทศทั้งหมดของโรงเรียน ไม่ว่าจะ รายชื่อนักเรียน รายชื่อบุคลากร
ต้องการศึกษาระบบสารสนเทศสแกนใบหน้าของเรียน เพื่อให้มีความสะดวกในโรงเรียน และที่เช็คนักเรียนเพื่อความรวดเร็ว ทันสมัยมากขึ้น
         - พัฒนาแชร์ไฟล์ข้ามโรงเรียนได้
          - สแกนใบหน้าของนักเรียน
5. ลักษณะข้อมูล และวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่โรงเรียนใช้ในปัจจุบัน
          - มีการเก็บข้อมูลเเบบเป็นเอกสารและเก็บบน DM ที่ซื้อมา
          - ต่างฝ่ายต่างเก็บข้อมูล โดยใช้ไดร์ฟในการเก็บข้อมูล
          - ยังไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในทั้งหมด
6. ระบบสารสนเทศแต่ละด้านมีการดำเนินการอย่างไร
         ทะเบียนนักเรียน ระบบเก็บข้อมูลนักเรียนจะเก็บใน DM ซึ่งเป็นระบบที่ซื้อมา
         บุคลากร ใช้ระบบ DM ในการเก็บข้อมูล
         หลักสูตร เก็บข้อมูลเป็นรูปเล่ม จะเป็นเชิงวิชาการ
         ห้องพยาบาล ยังไม่มีการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ
         กิจกรรมนักเรียน ระบบเก็บข้อมูลนักเรียนจะเก็บใน DM เป็นระบบที่ซื้อมา , มีการสำรองข้อมูลในเครื่อง
         วินัยนักเรียน ยังไม่เป็นระบบที่สมบูรณ์
7. งบประมาณที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียน
             ไม่สามารบอกจำนวนเงินที่แน่นอนได้ เนื่องจากปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ เรื่อง ของฮาร์แวร์ ซึ่งไม่สามารถจัดการเรียนได้เต็มที ๆ