ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 16

                                                                     วันที่ 7 ตุลาคม 2564

                                                           ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                   (Online Learning Management System)


     สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุมทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet  โดยในครั้งนี้พูดคุยในรูปแบบของเลมรายงานทั้งหมด เก็บรายละเอียดของข้อมูลทั้งหมด ดังนี้  

               1. ปกนอก 

               2. บทคัดย่อ Abstract กิตติกร

               3. สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ

               4. บทที่ 1 บทนำ

               5. บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

               6.  บทที่ 3 วิธีการศึกษา

               7. บทที่ 4 ผลการศึกษา

               8. บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

               9. บรรณานุกรม

             10. ภาคผนวก

             11. แผนการจัดการเรียนรู้

       ทำการเพิ่มเนื้อหาของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ https://smp.yru.ac.th/  ให้มีความสมบูรณ์ ตรวจสอบความถูกต้องและความเรียบร้อยของระบบ

โดยในครั้งนี้มีการจัดทำรูปเล่มรายงาน ซึ่งในครั้งนี้จะเรียบเรียงให้ความสมบูรณ์มากขึ้น เพื่อเกิดการทำงานรวดเร็วและอย่างระเบียบเรียบร้อย อีกยังทั้งเกิดการทำงานกันเป็นทีม และสรุปประเด็นสำคัญลงในเว็บบล็อกขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานครั้งนี้



ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 15

                                                                วันที่ 30 กันยายน 2564

                                                         ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                (Online Learning Management System)



        ในวันที่ 30 กันยายน 2564 ทางฝ่ายฝึกได้ขออนุญาติอาจารย์รายวิชาแต่ละท่านให้งดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษานั้นได้สังเกตการสอนของโรงเรียน

    อาจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี ได้ยกคลาสในสัปดาห์นี้พร้อมให้แต่กลุ่มของโครงงานทำงานกลุ่มให้คืบหน้าในครั้งนี้ทางกลุ่มเราได้มีนัดประชุมการทำงานโดยใช้ Google meet ในการประชุม เพื่อเพิ่มเนื้อหาของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ https://smp.yru.ac.th/  โดยในครั้งนี้มีการจัดทำแบบทดสอบแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest)  และแบบทดสอบหลังเรียน (Pretest)  ให้ความสมบูรณ์มากขึ้น และสุดท้ายได้มีการพูดคุยบทที่ 5 สรุป 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 14

                                                              วันที่ 23 กันยายน 2564

                                                       ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                (Online Learning Management System)

            อาจารย์ประกาศงดคลาสเพื่อให้นักศึกษาแต่กลุ่มของโครงงานทำรายงานในบทที่ 4 และบทที่ 5 พร้อมพัฒนาระบบ SMP ทางกลุ่มของเราก็ได้มีการประชุมและแบ่งหัวข้อหน้าที่กันทำ 

ซึ่งสรุปจากการประชุมของกลุ่มพวกเราในสัปดาห์นี้ ซึ่งสมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม และทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มเนื้อหาข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ https://smp.yru.ac.th/ และแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคน ได้มีการเพิ่มข้อมูลเพิมเติมลงระบบ

          หลังจากสมาชิกในกลุ่มได้จัดทำระบบอีเลิร์นนิ่ง ในระบบ https://smp.yru.ac.th/  เสร็จสมบูรณ์ ก็จัดทำในรูปเล่มเอกสาร รายงานการศึกษาโครงงาน 

        1.ในส่วนของเล่มรายงาน บทที่ 4 และ บทที่ 5 ซึ่งมีการแบ่งหัวข้อว่าใครรับผิดชอบในหัวข้อไหน โดยมีหัวข้อดังนี้

        1.1 บทที่ 4

        1.2 บทที่ 5 มีหัวข้อย่อย ดังนี้

            - เกริ่นนำ,ขั้นตอนการศึกษา

            - ความสำคัญ,สรุปผลการศึกษา

            - แนวทาง,ข้อเสนอแนะ







          2. ในส่วนระบบ SMP ช่วยกันหาและแลกเปลี่ยนความรู้ว่าในบทเรียนนั้นจะมีหัวข้ออะไรบ้าง และจัดเรียงออกแบบระบบอย่างไร 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13

                                                                 วันที่ 16 กันยายน 2564

                                                           ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                  (Online Learning Management System)

     

    กิจกรรมการเรียนการสอนมี ดังนี้

      1. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Google Meet เวลา 09.30 น.

      2. ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอ โครงงานบทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องและ บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา

     ซึ่งมีทั้งหมด 7 กลุ่ม นำเสนอตามลำดับ ดังนี้



         โดยแต่ละกลุ่มมีหัวข้อนำเสนอ ดังต่อไปนี้      

    กลุ่มที่ 7 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

  กลุ่มที่ 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6

 กลุ่มที่ 5  เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

  กลุ่มที่ 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

 กลุ่มที่ 1  เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 

 กลุ่มที่ 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

 กลุ่มที่ 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12

                                                                    วันที่ 9 กันยายน 2564

                                                           ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                   (Online Learning Management System)

        วันนี้อาจารย์ศิริชัย ไม่จัดการเรียนการสอนเนื่องจาให้นักศึกษา จัดทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมายและเตรียมนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

         ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุมนัดรวมกันทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนของเล่มรายงานและในส่วนต่าง ๆ ในระบบ SMP.YRU  โดยมีการแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคนไปหาข้อมูลในส่วนของตัวเอง และเพิ่มข้อมูลลงระบบได้อย่างอิสระ 






      และได้มีการจัดทำกูเกิลสไลด์เพื่อจะนำเสนอในส่วนของบทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และบทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา 



ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

                                                                      วันที่ 2 กันยายน 2564

                                                             ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                     (Online Learning Management System)

            กิจกรรมในวันนี้ 

 สมาชิกในกลุ่มได้ทำการประชุมทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อทำโครงงานต่อในส่วนบทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และบทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา ให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป


                                                    บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

      หัวหน้ากลุ่มทำการแบ่งหัวข้อเพื่อให้แต่ละคนหาเนื้อหาในส่วนของตัวเองที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า มีดังต่อไปนี้

1. เอกสารเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์ 

     1.1 ความหมาย (นูรีดา)

     1.2 ระบบอีเลิร์นนิ่ง (นูรโซเฟีย)

     1.3 ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (นายีฮะห์)

     1.4 เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (อัสมานี)


                                                           บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา 

      มีขั้นตอนการศึกษาและการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งตามขั้นตอนของ ADDIE หัวหน้ากลุ่มได้มอบหมายงานดังนี้

            1. การวิเคราะห์ (Analysis) (นูรโซเฟีย)

            2. การออกแบบ (Design) (นูรีดา)

            3. การพัฒนา (Development) (นายีฮะห์)

            4. การนำไปใช้ (Implementation) (อัสมานี)

            5. การประเมินผล (Evaluation) (ทำร่วมกัน)



        และมีการแบ่งหน้าเพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบ SMP.YRU

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 10

                                                                   วันที่ 26 สิงหาคม 2564

                                                             ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                      (Online Learning Management System)

             กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

        1. ก่อนเข้าชั้นเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนเตรียมข้อสอบแบบตัวเลือก จำนวน 5 ข้อ และข้อสอบแบบ ถูก-ผิด จำนวน 5 ข้อ เพื่อทดลองการสร้างข้อสอบในการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ครั้งนี้ไม่มีการนำเสนอใดๆ

        2. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Google Meet เวลา 9.30 น.

       อาจารย์เริ่มสอนปฏิบัติโดยการสาธิตในเว็บไซต์ https://smp.yru.ac.th/my/ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานและรู้จักเครื่องมือการใช้สำหรับการทำบทเรียนออนไลน์ ในเว็บไซต์ข้างต้น

การเพิ่มกิจกรรมและแหล่งข้อมูล                                                                                                     

            การเลือกกิจกรรมการเรียนรู้ ในแต่ละบทเรียน เช่น กระดานเสวนา ใช้ สำหรับกิจกรรมอภิปราย ถาม-ตอบ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การเลือกรูปแบบเนื้อหาที่จะใช้ในการเรียนรู้แต่ ละบท เช่น แหล่งข้อมูลเป็นลิงก์เว็บไซต์ Book เป็นการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ Page เป็นการสร้างหน้าเอกสาร ลักษณะเว็บเพจ  


      การสร้างกิจกรรมแบบทดสอบ                                                                                                         

            การประเมินผลในบทเรียนด้วย แบบทดสอบ เพิ่มเป็นกิจกรรม “แบบทดสอบ” ซึ่งมีรูปแบบของ ข้อสอบ เช่น แบบหลายตัวเลือก แบบถูกผิด แบบจับคู่

           กำหนดรายละเอียดของ แบบทดสอบ และบันทึก จากนั้นขั้นตอนต่อไป จะเป็นการสร้างข้อคำถามและคำตอบ โดยต้องสร้างผ่านคลังข้อสอบ หรือ Question Bank


        สรุปเนื้อหาในวันนี้ได้ว่า การสอนโดยการสาธิตการพัฒนาบทเรียนอีเลอร์นิงในเว็บไซต์ https://smp.yru.ac.th/my/ ในครั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปพัฒนาบทเรียนอีเลอร์นิงของกลุ่มตัวเองให้เสร็จสมบูรณ์ 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 9

                                                                    วันที่ 19 สิงหาคม 2564

                                                               ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                        (Online Learning Management System)


         กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียนวันนี้ 

        1. ก่อนเข้าเรียนให้ทบทวนเนื้อหา บทที่ 4 และให้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบถ้วน จากนั้นมีแบบทดสอบความรู้บทที่ 4 โดยการเล่น Kahoot 

        2. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Google Meet เวลา 9.00 น.

      บทเรียนในวันนี้อาจารย์สอนปฏิบัติโดยการสาธิตในเว็บไซต์ https://smp.yru.ac.th/my/ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานและรู้จักเครื่องมือการใช้สำหรับการทำบทเรียนออนไลน์ ในเว็บไซต์ข้างต้น

                                                               การสร้างส่วนนำของวิชา


          เลือกรายวิชา ของกลุ่มตัวเอง (เทคโนโลยี มัธยมศึกษาปีที่ 2 ) และเลือก เริ่มการแก้ไขในหน้านี้ เพื่อจัดการตั้งค่า เนื้อหา และ กิจกรรมของรายวิชา

           เลือกการกำหนดค่าเริ่มต้นของ รายวิชา หรือการตั้งค่า เพื่อ ดำเนินการพัฒนาบทเรียนและ จัดการ  เรียนรู้

           การเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้และเนื้อหาหรือแหล่งข้อมูล 

 สนับสนุนการเรียนรู้ โดยการกดปุ่มเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้หรือแหล่งข้อมูล


    คือหน้าต่างการเลือกกิจกรรมการเรียนรู้ ในแต่ละบทเรียน เช่น กระดานเสวนา ใช้ สำหรับกิจกรรมอภิปราย ถาม-ตอบ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การเลือกรูปแบบเนื้อหาที่จะใช้ในการเรียนรู้แต่ ละบท เช่น แหล่งข้อมูลเป็นลิงก์เว็บไซต์ Book เป็นการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ Page เป็นการสร้างหน้าเอกสาร ลักษณะเว็บเพจ  

   สรุปเนื้อหาในครั้งนี้ได้ว่าการสอนโดยการสาธิตการพัฒนาบทเรียนอีเลอร์นิงในเว็บไซต์ https://smp.yru.ac.th/my/ ในครั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปพัฒนาบทเรียนอีเลอร์นิงของกลุ่มตัวเองให้เสร็จสมบูรณ์


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 8

                                                                  วันที่ 12 กรกฎาคม 2564

                                                             ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                       (Online Learning Management System)

 


      มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้งดการเรียนการสอน เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าศิริกิติ์ พรพบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 7

                                                                  วันที่ 5 สิงหาคม 2564

                                                            ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                    (Online Learning Management System)


          กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้มีดังนี้

        1. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Zoom Conference เวลา 09.00 น.

        2. อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอ หัวข้อโครงงานและบทที่ 1  ความสำคัญและความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขตการศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ระยะเวลาศึกษาโครงงานและนิยามคำศัพท์เฉพาะ ซึ่งมีทั้งหมด 7 กลุ่ม นำเสนอตามลำดับ


                                                                     บทที่ 1 บทนำ



                                                   ซึ่งแต่ละกลุ่มมีหัวข้อนำเสนอ ดังต่อไปนี้


    กลุ่ม 1 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 


    กลุ่ม 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


    กลุ่ม 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


    กลุ่ม 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


    กลุ่ม 5 เรื่องการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


    กลุ่ม 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1


    กลุ่ม 7 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การประเมินความน่าเชื่อถือ รายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 



ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 6

                                                                 วันที่ 29 กรกฎาคม 2564

                                                            ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                    (Online Learning Management System)

          กิจกรรมก่อนเข้าบทเรียนออนไลน์

        1. ก่อนเข้าเรียนให้ทบทวนเนื้อหาด้วยตนเอง และกิจกรรมการเรียนรู้ ในบทที่ 3 - 4 ในระบบอีเลิร์นนิ่ง

        2. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าระบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อทดลองปฏิบัติ ที่เว็บไซต์ http://smp.yru.ac.th  ใช้ user : รหัสประจำตัวนักศึกษา password: 12345* เพื่อเตรียมฝึกทำโครงงาน

        3.  เตรียมตัวเล่นเกมส์ Kahoot ( https://kahoot.it ) ทบทวนความรู้บทที่ 3 

   อาจารย์เริ่มสอนเวลา 9.30 น. โดยใช้โปรแกรม google meet ในการเข้าชั้นเรียนในสัปดาห์นี้ จากนั้นได้มีการเรียนการสอน ในบทที่ 4  สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

 บทที่ 4 การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning Courseware Development)


       การพัฒนาการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง LMS จะมีความสามารถในการจัดการหลักสูตร รายวิชา 
ผู้เรียน ผู้สอน การสร้าง กิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างแหล่งเรียนรู้ การรายงานผลการจัดการเรียนรู้ การติดตามพฤติกรรมผู้เรียน (Tracking)

       ADDIE เป็นขั้นตอนเชิงระบบในการพัฒนาวิชาหรือบทเรียน (Courseware) ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์(Analyze)ขั้น ออกแบบ (Design) ขั้นพัฒนา (Develop) ขั้นนำไปใช้ (Implementation) และขั้นประเมินผล (Evaluate)

        แต่ละขั้นตอนใน ADDIE มีกระบวนการย่อย ๆ ในการดำเนินการ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และรายละเอียดของแต่ละแนวคิด ซึ่งมีผู้นำเสนอไว้หลากหลาย

         ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง Moodle LMS ที่นำมาใช้ในการทดลองจัดการเรียนรู้ 

มีความสามารถมากเพียง พอที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในสถาบันการศึกษา และเป็น Open Source Software

          การบริหารจัดการหลักสูตร รายวิชา ผู้สอน ผู้เรียน กิจกรรมการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลหรือเนื้อหาบทเรียน สามารถทำได้ง่าย และ สะดวก แต่ขาดความสามารถในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย Moodle LMS เน้นหน้าที่เป็นระบบบริหารจัดการ ผนวกรวมเนื้อหา สื่อ มัลติมีเดียที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว ประกอบเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

          องค์ประกอบของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ควรมี

  1) การเปิดตัว กล่าวต้อนรับ

  2) คำแนะนำการเรียน

  3) จุดประสงค์การเรียนรู้

  4) เนื้อหา

  5) กิจกรรมการเรียนรู้

  6) แบบฝึกหัดทบทวน และแบบทดสอบ

  7) แหล่เรียนรู้เพิ่มเติม และ

  8) การติดต่อผู้สอนและทีม




ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 5

                                                                  วันที่ 22 กรกฎาคม 2564

                                                            ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                     (Online Learning Management System)



         ตามประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง วันอีฎิ้ลอัดฮา ฮิจเราะห์ศักราช 1442 ตรงกับวันที่ 21กรกฎาคม พ.ศ.2564 นั้น เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้ดำเนินการปฏิบัติศาสนกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงประกาศงดการเรียนการสอนออนไลน์ในวันที่ 22-23 กรกฎาคม พ.ศ.2564 โดยให้อาจารย์ผู้สอนจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมต่อไป


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4

                                                                 วันที่ 15 กรกฎาคม 2564

                                                          ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

                                                    (Online Learning Management System)


             กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน ดังนี้

            1.ทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 3 ในระบบอีเลอร์นิ่ง (https://elearning.yru.ac.th) 

            2. เข้าเรียนในห้อง Zoom เาลา 8.45 น.

            3. เตรียมเล่น Kahoot Game ทบทวนเนื้อหาบทเรียนที่ 2



                          จากนั้นได้มีการเรียนการสอน ในบทที่ 3  สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้


                                                   บทที่ 3 อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ

      1. ประเภทของอีเลิร์นนิ่ง

         สามารถแบ่งตามลักษณะการปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ อีเลิร์นนิ่งแบประสานเวลา (Synchronous Learning) อีเลิร์นนิ่งแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous Learning) และแบประสมเวลา (Hybrid Learning


      2. ข้อดีของอีเลิร์นนิ่ง 

        ได้แก่ สะดวกสบาย สอดคล้องกับความก้าวหน้าในปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนได้ทันทีทันใด มีความเป็นเลิศ ของระบบ มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้ตลอดเวลา ทั้งรายบุคคล และกลุ่ม และเป็นสหวิชาการ


     3. ข้อจำกัดของอีเลิร์นนิ่ง 

        ได้แก่ การให้ผลสะท้อนกลับไม่ทันทีทันใด ผู้เรียนอาจถูกปล่อยให้โดดเดี่ยว ผู้เรียนต้องสร้างแจ้งจูง ใจ แรงบันดาลใจ ผู้เรียนอาจขาดทักษะการสื่อสารทางสังคม ป้องกันทุจริตได้ยาก เน้นพัฒนาความรู้มากกว่าทักษะ ผู้เรียนที่ขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์อาจเข้าไม่ถึงบทเรียนเรียนหรือกิจกรรม และขาดความมั่นใจด้านคุณภาพ


     4. การประเมินผลในระบบอีเลิร์นนิ่ง

         มีทั้ง Placement Evaluation, Formative Evaluation, Diagnostic Evaluation และ Summative Evaluation


    5. อุปสรรคการเรียนอีเลิร์นนิ่ง 

        ได้แก่ ผู้เรียนผู้สอนอยู่คนละที่ ไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อม ความไม่เท่าเทียมทาง เทคโนโลยี ไม่สามารถเข้าถึงสื่อ การสอบออนไลน์อาจทุจริตได้


     6. LMS : Learning Management Software 

        เป็นระบบจัดการเรียนรู้แบบ web-based application ขนาดใหญ่    ซับซ้อน มี ความสามารถในการจัดการหลักสูตร วิชา ผู้สอน ผู้เรียน การจัดการเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การรายงานผล