วันที่ 29 กรกฎาคม 2564
ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์
(Online Learning Management System)
กิจกรรมก่อนเข้าบทเรียนออนไลน์
1. ก่อนเข้าเรียนให้ทบทวนเนื้อหาด้วยตนเอง และกิจกรรมการเรียนรู้ ในบทที่ 3 - 4 ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
2. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าระบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อทดลองปฏิบัติ ที่เว็บไซต์ http://smp.yru.ac.th ใช้ user : รหัสประจำตัวนักศึกษา password: 12345* เพื่อเตรียมฝึกทำโครงงาน
3. เตรียมตัวเล่นเกมส์ Kahoot ( https://kahoot.it ) ทบทวนความรู้บทที่ 3
อาจารย์เริ่มสอนเวลา 9.30 น. โดยใช้โปรแกรม google meet ในการเข้าชั้นเรียนในสัปดาห์นี้ จากนั้นได้มีการเรียนการสอน ในบทที่ 4 สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
บทที่ 4 การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning Courseware Development)
การพัฒนาการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง LMS จะมีความสามารถในการจัดการหลักสูตร รายวิชา
ผู้เรียน ผู้สอน การสร้าง กิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างแหล่งเรียนรู้ การรายงานผลการจัดการเรียนรู้ การติดตามพฤติกรรมผู้เรียน (Tracking)
ADDIE เป็นขั้นตอนเชิงระบบในการพัฒนาวิชาหรือบทเรียน (Courseware) ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์(Analyze)ขั้น ออกแบบ (Design) ขั้นพัฒนา (Develop) ขั้นนำไปใช้ (Implementation) และขั้นประเมินผล (Evaluate)
แต่ละขั้นตอนใน ADDIE มีกระบวนการย่อย ๆ ในการดำเนินการ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และรายละเอียดของแต่ละแนวคิด ซึ่งมีผู้นำเสนอไว้หลากหลาย
ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่ง Moodle LMS ที่นำมาใช้ในการทดลองจัดการเรียนรู้
มีความสามารถมากเพียง พอที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในสถาบันการศึกษา และเป็น Open Source Software
การบริหารจัดการหลักสูตร รายวิชา ผู้สอน ผู้เรียน กิจกรรมการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลหรือเนื้อหาบทเรียน สามารถทำได้ง่าย และ สะดวก แต่ขาดความสามารถในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย Moodle LMS เน้นหน้าที่เป็นระบบบริหารจัดการ ผนวกรวมเนื้อหา สื่อ มัลติมีเดียที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว ประกอบเป็นบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง
องค์ประกอบของบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ควรมี
1) การเปิดตัว กล่าวต้อนรับ
2) คำแนะนำการเรียน
3) จุดประสงค์การเรียนรู้
4) เนื้อหา
5) กิจกรรมการเรียนรู้
6) แบบฝึกหัดทบทวน และแบบทดสอบ
7) แหล่เรียนรู้เพิ่มเติม และ
8) การติดต่อผู้สอนและทีม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น