ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 10
วิชา การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา
ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563
อาจารย์ได้อธิบาย ในการทำโครงงานในระบบต่าง ๆ ที่มอบหมายงานในสัปดาห์ก่อน และอธิบายการพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development) วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) เป็นว่าอย่างไร มีแบบไหนบ้าง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)
การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)
คือ เป็นการสร้างระบบใหม่หรือปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทางธุรกิจได้ตามความต้องการ
วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC)
คือ กระบวนการทางความคิด เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถดำเนินการได้อย่างมีแนวทางและเป็นขั้นตอน วงจรการพัฒนาระบบ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ได้แก่
1. ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project Identification)
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project Initiating and Planning)
3. วิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
4. การออกแบบเชิงตรรก (Logic Design)
5. การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)
6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)
7. การซ่อมบำรุงระบบ (System Maintenance)
ในสัปดาห์นี้ นำเสนอในแต่ละกลุ่มต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีความแตกต่างกันไปในต่างด้าน ที่เลือกมานำเสนอ
กลุ่มที่ 4 จำนวนสถิติการศึกษาในระบบและนอกระบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีพ.ศ. 2561 (สามจังหวัดชายแดนใต้)
1.เพื่อศึกษาอัตราส่วนการศึกษาในระบบและนอกระบบว่ามีนักเรียนมากน้อยเพียงใดและศึกษา การเรียนการสอนในระบบและนอกระบบมีความแตกต่างอย่างไร
การศึกษาในระบบและนอกระบบ
การศึกษาในระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบ แบบแผนชัดเจนมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักสูตรวิธีการจัดการการเรียนการสอนและวัดผลที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีความยึดหยุ่นและหลากหลายรูปแบบที่มุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์
การศึกษาในระบบและนอกระบบ
การศึกษาในระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบ แบบแผนชัดเจนมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักสูตรวิธีการจัดการการเรียนการสอนและวัดผลที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีความยึดหยุ่นและหลากหลายรูปแบบที่มุ่งหมายให้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์
กลุ่มที่ 5 การสอบ 9 วิชาสามัญ
1. เพื่อต้องการทราบจำนวนนักเรียนที่สนใจในการสอบ 9 วิชาสามัญ ในแต่ละปี
2. เพื่อศึกษาสถิติคะแนนสอบของ 9 วิชาสามัญ ในแต่ละปี
พบว่าการสอบ 9 วิชาสามัญก็มีความสำคัญอย่างมากสำหรับนักเรียนที่จะก้าวไปสู่ใระดับอุดมศึกษา สังเกตได้จากผู้ที่เข้าสมัครสอบที่มีจำนวนมาก เพราะว่าการสอบ 9 วิชาสามัญจะเป็นการวัดความรู้ขั้นพื้นฐานของนักเรียนที่จบมาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และการสอบเข้ามหาวิทยาลัยบางสาขาวิชาก็ต้องการผลคะแนนสอบ
กลุ่มที่ 6 ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 – 2561
กลุ่มที่ 6 ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 – 2561
1. เพื่อรู้ผลการสอบ O-NET ในแต่ละปีว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานมากน้อยเพียงใด.
2. เพื่อได้รู้การวัดคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษาของแต่ละโรงเรียนทั่วประเทศ.
3. เพื่อได้รู้ว่าคะแนนการทดสอบในแต่ละปีมีการพัฒนาขึ้นหรือน้อยลง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น